วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2554 ครั้งที่ 14

การจัดสภาพแวดล้อม เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
มุมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
การจัดมุมประสบการณ์ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาด้วยหนังสือ
สัญลักษณ์ ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียนมีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ซืมชับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1.เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือการสนใจ
2.สอนแบบเป็นธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย
4.สอนจากสี่งที่เด็กได้พบเห็นหรือมีประสบการณ์มาก่อน
5.สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน(ไม่ใช้ฝึกแต่ให้ใช้)
6.ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง
เด็กอยากอ่านก็คสอนให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน

ทำไมเราจึงอ่านหนังสือ

-ภาษาเขียนอ่านจากหน้าไปหลังซ้ายไปขวาบนลงล่าง
-ตัวหนังสือต่างจากภาพ
-ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
-ข้อความในหนังสือเป็นสี่งถาวร
-ตัวหนังสือเป็นสี่งที่สื่อความหมายได้

ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้น ป.1 หรือไม่ ควรถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้

-เป็นความปรารถนาที่มาจากตัวเด็ก
-วิธีการเหมาะสมกับเด็ก
-ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ
-ครูหวังให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
-ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน
-ให้ผู้ปกครองมีส่วนร้วมในการส่งเสริมการอ่าน

ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้

-สอนเป็นแบบฝึกหัดเป็นประจำ
-คาดหวังให้เด็กทำตามเหมื่อนกันทุกคน-เน้นความเงียบ
-จัดกลุ่มและเรียกกลุ่มเด็กตามความสามารถในการอ่าน-สอนแยกแต่ละทักษะออกจากกัน
-สอนโดยถูกบีบบังคับจากผู้ปกครอง-เป็นการใช้อำนาจของครู

เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้ในการสอนภาษา

-เน้นความจำ
-เน้นการฝึก
-ใช้การทดสอบ
-สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
-การตีตราเด็ก
-ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอเส่นจุดประ
-ไม่ยอมรับความผิดพลาดสอนภาษาในเวลาที่กำหนด
-ช่วงการสอนภาษาจะจำกัดเวลาและให้เป็นช่วงเวลาเงียบๆไม่ใช้เสียง
-จำกัดวัสดู อุปกรณ์ อาจเหลือเพียงแบบฝึกดินสอ หนังสือ แบบเรียน
-ทำให้การเรียนภาษาเป็นสี่งที่น่าเบื่อหน่าย

เทคนิคที่ควรที่นำมาใช้ในการสอนภาษา

-สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
-สอนสี่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
-สอนจากสี่งที่รู้ไปยังสี่งที่ไม่รู้
-บรูณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
-ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
-ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
-ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
-ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
-จัดหาเครืองมือเครืองใช้ต่างๆ
-ทำให้การเรียนรู้หน้าสนใจและสนุกสนาน

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 13

ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาศในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้จัดเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครูให้เด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
*ภาษาที่เกิดขึ้นได้ดีเป็นภาษาที่มีความหมาย*
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
-อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ เช่น คำซ้ำ คำคล้องจอง
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินได้
-ให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบและไปนั่งอ่านมุมเงียบๆ(มุมหนังสือนิทาน)
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ-ครูตรวจสอบการเขียนของแต่ละคน
*กระบวนการการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก คือ การทำให้เด็กมีความสนใจในตัวครูผู้สอนเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียน *ครู*เป็นผู้สร้างประติสัมพันธ์ให้กับเด็ก

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 12

อาจาร์ยสอนเรื่องบรูณาการนิทาน นิทานเรื่อง"ผมแกละ" นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องเกี่ยวกับ
-เลียนเสียงของสัตว์
-คำซ้ำ
-เด็กๆอย่ากลัวเสียงฟ้าร้อง
ภาษาธรรมชาติ(Whole Language Approach)การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาการภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆไปของเด็กในโรงเรียน ครูใช้ภาษาทุกทักษะด้านการฟัง การพูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะนำหลักสูตร การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ เขียนหนังสือต่างๆ ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวทางใหม่ในการอ่านแบบธรรมชาติ
จูดิท นิวแมน(Judith Newman)
การสอนภาษโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา Philosophical stance ความคิดของผู้สอนโดยก่อตังขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรง
ทฤษฎีเป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู (Reflective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดนักทฤษฎี
-เพียเจท์
เด็กจะเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเองนั้นโดยเด็กเป็นผู้กระทำ Active ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง
*จึงกล่าวได้ว่า* การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 11

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนและออกไปปฏิบัติหน้าห้องทีละกลุ่ม
1.คำคล้องจอง
2.รู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ทำและปฏิบัติ
5.ทำตรงกันข้าม
6.พูดกระซิบต่อกัน
7.วาดภาพและเล่านิทานต่อกัน
8.ร้องเพลง
9.วาดภาพเล่าเรื่อง
-แต่ละหัวข้อมีประโยชน์อย่างไรกับเด็กปฐมวัย
*บรรยากาศในห้องสนุกสนานเพลิดเพลินมากๆตอนที่เพื่อนๆได้ออกไปปฏิบัติหน้าห้อง เพื่อนทุกคนในห้องต่างอารมณ์ดี

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554ครั้งที่ 10
วันนี้เรียนชดเชย

วันอังคารที่11มกราคม พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 9

วันนี้อาจารย์ให้ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริศนาคำทาย อาจารย์ให้ส่งฉัน ชอบ กิน...
อาจารย์ยกตัวอย่างงานของเพื่อนบางคนได้แนะนำว่าควรเขียนตัวหนังสือให้สวยงาม มีหัว และอ่านออก อ่านได้ง่าย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอปริศนาคำทาย และในเพื่อนๆช่วยกัน
แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติม
เกี่ยวกับตัวหนังสือต้องเว้นวรรคให้ชัดเจน พอนำเสนอเสร็จครบทุกกลุ่มแล้ว
อาจารย์บอกให้นักศึกษาให้แต่ละกลุ่มนำ Big Bookไปเล่นให้เด็กสาธิตฟัง
ภายให้อาทิตย์หน้าพร้อมถ่ายรูปและสรุปผลส่งให้อาจารย์ด้วย
อาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมส่มเสริมทักษะทางภาษาดังนี้
-โฆษณา
-ประชาสัมพันธ์
-ประกาศ
-ของรักของหวง
-เล่าเรื่องจากภาพ
-เล่าประสบการณ์

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 8
วันนี้อาจารย์ แจกกระดาษที่มี ก-ฮ ที่เป็นรูปแบบของไดโนเสาร์ชนิดต่างๆแล้วให้นักศึกษาเรียงลำดับ และอาจารย์ก็เล่านิทานที่มีการพับกระดาษเป็นรูปเรือและการฉีกกระดาษประกอบการเล่านิทานเมื่อจบเรื่อง ก็ครี่กระดาษออกจะได้ภาพใหม่จากที่เป็นเรือก็เปลี่ยนมาเป็นรูปเสื้อ และเล่านิทาน เรื่องกระต่ายกับงู
การฟังและการพูดโดยไม่ตต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ เมื่อเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้พื้นฐานของภาษาได้ตั้งแต่อายุ สี่ หรือ ห้า ปี








วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้ทำหนังสือ เล่มเล็ก
ดิฉันทำเรื่อง ผลไม้ชนิดต่างๆ











สิ่งที่เด็กได้รับ
-ได้รู้จักผลไม้ชนิดต่างๆ
-ได้รู้จักสีต่างๆ
-ได้รู้จักลักษณะของผลไม่ต่างๆ
-เด็กได้มีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่ตนเองได้รับ
-ได้รู้จักออกแบบ วางแผน
-ได้มีการใช้ศิลปะเข้าร่วม

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 6

วันนี้อาจารย์เหมียวได้เข้าสอนแทนอาจารย์จ๋า
อาจารย์จ๋าได้สั่งงานให้ทำ Big book
1.รับกระดาษจากอาจารย์
2.วางแผนและออกแบบ
3.แบ่งงานกันทำในกลุ่ม ลงมือปฏิบัติงาน
3.อาจารย์ให้กลับไปทำที่บ้านเพราะจะมีอุปกรณ์ที่พร้อมกว่า
วันนี้ บรรยากาศในห้อง เพื่อนๆสนทนากันเรื่องทำ Big book เพราะยังงงๆไม่เข้าใจสักเท่าไร

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 5