วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 13

ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาศในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้จัดเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครูให้เด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
*ภาษาที่เกิดขึ้นได้ดีเป็นภาษาที่มีความหมาย*
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
-อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ เช่น คำซ้ำ คำคล้องจอง
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินได้
-ให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบและไปนั่งอ่านมุมเงียบๆ(มุมหนังสือนิทาน)
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ-ครูตรวจสอบการเขียนของแต่ละคน
*กระบวนการการเรียนรู้แบบธรรมชาติตามวัยวุฒิของเด็ก คือ การทำให้เด็กมีความสนใจในตัวครูผู้สอนเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียน *ครู*เป็นผู้สร้างประติสัมพันธ์ให้กับเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น