วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 12

อาจาร์ยสอนเรื่องบรูณาการนิทาน นิทานเรื่อง"ผมแกละ" นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องเกี่ยวกับ
-เลียนเสียงของสัตว์
-คำซ้ำ
-เด็กๆอย่ากลัวเสียงฟ้าร้อง
ภาษาธรรมชาติ(Whole Language Approach)การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตอยู่แล้ว เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาการภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆไปของเด็กในโรงเรียน ครูใช้ภาษาทุกทักษะด้านการฟัง การพูด อ่าน เขียน แบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะนำหลักสูตร การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ เขียนหนังสือต่างๆ ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวทางใหม่ในการอ่านแบบธรรมชาติ
จูดิท นิวแมน(Judith Newman)
การสอนภาษโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็นปรัชญา Philosophical stance ความคิดของผู้สอนโดยก่อตังขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรง
ทฤษฎีเป็นกุญแจสำคัญของการสะท้อนความคิดต่อการสอนของครู (Reflective teaching)
ผู้เรียนต้องเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ครูผู้สอนควรบูรณาการด้านภาษาให้กลมกลืนไปกับการเรียนรู้ทุกเรื่องในหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดนักทฤษฎี
-เพียเจท์
เด็กจะเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเองนั้นโดยเด็กเป็นผู้กระทำ Active ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง
*จึงกล่าวได้ว่า* การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น